ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่าน กล้องไมโครสโคป
ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วย ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20–100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ช่วยให้สามารถผ่าตัดในจุดที่ต้องการได้อย่างมี..
หากมีอาการปวดหลังเพียงไม่นานแล้วหายได้จากการดูแลรักษาตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดหลังเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ไมโครสโคป คือคำตอบที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหากระดูกสันหลังกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หมดปัญหาความเจ็บปวดที่รบกวนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
ทำความรู้จัก กล้อง Microscope
Microscopic Discectomy / Foraminotomy คือ การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วย กล้องไมโครสโคป ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20–100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีการใช้เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (Intraoperative Monitoring : IOM) คอยเตือนแพทย์หากแตะโดนเส้นประสาท ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ช่วยให้สามารถผ่าตัดในจุดที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้ราบรื่นจากการมองเห็นภาพเดียวกัน ทำให้ใช้เวลาผ่าตัดทั้งหมดสั้นลง แผลมีขนาดเล็กประมาณ 2 เซนติเมตร เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว
สัญญาณเตือนอาจต้องผ่าตัดผ่าน กล้องฯ
*ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรงและรวดเร็ว
*ปวดรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
*ไม่หายขาดหลังรักษาแบบไม่ผ่าตัดนาน 3–6 เดือน
*ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบปัสสาวะและอุจจาระได้
ผู้ป่วยที่เหมาะกับผ่าตัดผ่าน กล้อง Microscopic Discectomy
*ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
*ผู้ป่วยโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาทจากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง
ข้อดีของ กล้อง Microscopic Discectomy
*ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อและบริเวณเฉพาะที่
*ขณะผ่าตัดหากต้องการปรับเปลี่ยนแผนขยายช่องทางของเส้นประสาทสามารถทำได้ง่าย
*ลดอาการปวดและเวลาในการผ่าตัด
*พักฟื้นไม่นาน ฟื้นตัวได้เร็ว
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดด้วย กล้องไมโครสโคป เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดอาการอ่อนเพลีย และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้กลับมาทำงานแบบสดใสอีกครั้ง ก่อนออกจากโรงพยาบาลจะต้องทำกิจกรรม เช่น นั่งและออกจากรถ ขึ้นลงจากเตียงได้สะดวกหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ เมื่อกลับถึงบ้านไม่ควรนั่งนานเกิน 60 นาทีในแต่ละครั้ง ไม่ยกของหนัก ไม่ทำกิจกรรมที่ใช้แรง หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์ ต้องเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อท้องและหลัง
วินิจฉัยโดยแพทย์ก่อนการผ่าตัดฯ
ทั้งนี้การวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางด้วยการตรวจอย่างละเอียดและถูกต้องคือหัวใจสำคัญ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยรับประทานยาและทำกายภาพเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจหายขาดได้ แต่หากไม่หายและปวดรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) กำลังขยายสูง ซึ่งศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล มีมาตรฐานสากลในการรักษาเฉพาะทางด้านโรคปวดหลังจาก JCI สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
Cr.คมชัดลึก,โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล,ไวไฟ ไมโครสโคป,Phyathai Hospital
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น